เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้  ในรูปแบบ“ระบบนิเวศทางการศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” (Learning  Ecosytem According to the philosophy of Sufficiency Economy) เพื่อพัฒนาผู้เรียน

ปัญหาการเรียน (Learning Problems) เป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการใส่ใจและดูแลช่วยเหลือ

อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากส่งผลกระทบสูงทั้งต่อตัวเด็กเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ เมื่อเด็กมีปัญหาการเรียนที่ไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะมีแนวโน้มที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาการทำงาน ไม่สามารถสร้างผลผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ และอาจเป็นภาระต่อผู้อื่นต่อไปปัญหาการเรียนเกิดได้จากหลายสาเหตุและหลายปัจจัย แพทย์จะแยกโรค ความบกพร่อง หรือปัญหาต่างๆ ให้ชัดเจน เพื่อวางแผนการดูแลรักษาที่เหมาะสมตามสภาพปัญหาและความสามารถของเด็กแต่ละคนเหตุปัจจัยที่ทำให้เด็กมีปัญหาการเรียน เกิดจากทั้งในตัวเด็กเอง ในครอบครัวและสังคม และในโรงเรียน ซึ่งปัญหาอาจเกิดจากเหตุปัจจัยเดียวหรือหลายเหตุปัจจัยก็ได้ 

ในโลกแห่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิตต่างก็เป็นปัจจัยที่เกี่ยวพัน และสร้าง

ผลกระทบแก่กันได้มหาศาลเมื่อปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น  ตัวอย่างหนึ่งที่มักจะถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยๆ คือกรณีการย้ายถิ่นฐานของสุนัขป่าในอุทยานแห่งชาติเยลโล่สโตน ประเทศสหรัฐอเมริกา ในอดีตพื้นที่แห่งนั้นเคยเป็นแหล่งหากินของกวางป่า แต่เมื่อสัตว์นักล่าได้อพยพย้ายเข้ามาสัตว์กินพืชเจ้าถิ่นเดิมก็จำเป็นต้องล่าถอย ระยะเวลาผ่านไปพุ่มไม้ใบหญ้าบริเวณนั้นที่เคยเหี้ยนเตียนเพราะถูกกินจนเรียบก็กลับมางอกงามอีกครั้ง ความอุดมสมบูรณ์ของป่าดึงดูดให้สัตว์น้อยใหญ่อย่าง นก บีเวอร์ หรือหมี คืนกลับสู่พื้นที่บริเวณนั้นอีกครั้ง
                สิ่งเหล่านี้คือแบบจำลองเบื้องต้นที่อธิบายถึงการมีอยู่ของ ‘ระบบนิเวศ’     จากไอเดียที่ได้จากการสังเกตการณ์ธรรมชาติ ในเวลาต่อมาได้ถูกนำมาพิจารณาเพื่อปรับใช้กับระบบการเรียนรู้ ภายใต้ความเชื่อที่ว่าองค์ประกอบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ผู้เรียน ผู้สอน นายจ้าง เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว สื่อการเรียนการสอน หรือกระทั่งโอกาสในการได้ทดลองลงมือจริง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งสิ้น

               การเรียนรู้ของชีวิตไม่มีวันสิ้นสุด” ทุกคนคงเคยได้ยินคำนี้อยู่บ่อยๆ แต่ในสมัยก่อนถ้าพูดถึง

การศึกษา เรามักจะถูกตีกรอบว่า คงมีแค่โรงเรียนเท่านั้นที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ แต่ปัจจุบันนี้ที่เข้าสู่สังคมดิจิตอล ในยุค “Open Source” ทำให้การเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปอย่างเปิดกว้าง ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้อย่างแพร่หลาย ทุกอย่างสื่อสารได้ง่าย ผ่านระบบออนไลน์ จากผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ

 หากโรงเรียนได้มีการจัดทำหลักสูตรบูรณาการเชื้อมโยงเทียบโอนการเรียนรู้จากธรรมชาติ  ประสบการณ์  ภายใต้ความเชื่อที่ว่าองค์ประกอบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ผู้เรียน ผู้สอน ผู้ปกครอง นายจ้าง เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว  ชุมชน  สื่อต่าง ๆ หรือกระทั่งโอกาสในการได้ทดลองลงมือจริง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งสิ้น เทียบเคียงกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีการมาวัดและประเมินผลการตัดสินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรขั้นพื้นฐานได้    ซึ่งถือเป็นระบบการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อให้สอดรับกับโลกแห่งอนาคตจึงอาจจะเป็นทางออกสำคัญที่เราสามารถสร้างได้ในตอนนี้ เพื่อเตรียมบุคลากรให้พร้อมเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจ และรับมือกับอนาคตที่กำลังจะมาถึง   ซึ่งระบบการเรียนรู้ดังกล่าว หากเราน้อมนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รัชกาลที่ ๙  มาปรับประยุกต์กับปรากฏการณ์ธรรมชาติ มาปรับใช้กับระบบการเรียนรู้  ที่เป็นรูปแบบ “ระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ (Learning Ecosystem) ” ก็จะช่วยพัฒนาผู้เรียนได้อีกทางหนึ่ง